2552/08/14

มารู้ จัก กับ คำนิยาม เครื่องสำอาง




ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
2.1 คำนิยาม
เครื่องสำอาง คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อความสะอาดและความสวยงามเท่านั้น เช่น ครีมบำรุงผิว โลชั่นกันแดด น้ำหอม ลิปสติก แป้งฝุ่น รองพื้น แป้งทาหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ผลิตภัณฑ์ทาแก้ม แต่งตา ทาเล็บ ล้างเล็บ ตกแต่งทรงผม ระงับกลิ่นกาย สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผ้าเย็น ผ้าอนามัย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่าเพื่อความสะอาดหรือความสวยงาม เช่น อ้างว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรค ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องจัดเป็นยา ไม่ใช่เครื่องสำอาง เช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน ครีมบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง แม้ว่าจะมีการเกี่ยวโยงสรรพคุณเหล่านี้ว่านำไปสู่ความงามก็ตาม
2.2 การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หากผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป
1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือน้ำยาป้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" และมีเลขทะเบียนในกรอบ อย.
2) เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การกับดูแลจึงลดระดับลงมาจากการขึ้นทะเบียน เป็นเพียงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่องสำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุม"
3) เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตรายจากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
การแสดงข้อความอันจำเป็นที่ฉลากภาษาไทย
เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม เครื่องสำอางทั่วไป
1. ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อเครื่องสำอาง
2. ประเภทหรือชนิด ประเภทหรือชนิด ประเภทหรือชนิด
3. ข้อความ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ข้อความ "เครื่องสำอางควบคุม" -
4. เลขทะเบียนในกรอบ อย. - -
5. ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมพิเศษและสารสำคัญ ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมและสารสำคัญ ชื่อส่วนประกอบสำคัญ
6. - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ต้องของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย
7. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต -
8. วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต
9. วิธีใช้ วิธีใช้ วิธีใช้
10. ปริมาณสุทธิ ปริมาณสุทธิ ปริมาณสุทธิ
11. คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด
12. ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1, 4 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง
2.3 การโฆษณาเครื่องสำอาง
การโฆษณาเครื่องสำอาง ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา แต่การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง ถูกหลักวิชาการและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้
2.4 การผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง
- เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ต้องขึ้นทะเบียนก่อนผลิตหรือนำเข้า
- เครื่องสำอางควบคุม ต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำเข้า
- เครื่องสำอางทั่วไป - ผลิตในประเทศไม่ต้องขึ้นทะเบียนหรือ รายละเอียด เพียงแต่แสดงข้อความที่ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
- นำเข้า ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วนและถูกต้อง ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้นำเข้า
2.5 สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
การขายเครื่องสำอาง สามารถกระทำได้โดยอิสระ ไม่ต้องขออนุญาตขายเครื่องสำอาง แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลากภาษาไทยและฉลากต้องแสดงข้อควาครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้
2.6 สถานที่ขอขึ้นทะเบียนหรือแจ้งรายละเอียด
ผู้ประกอบการที่มีสถานที่ประกอบการตั้งอยู่
- ให้ยื่นขอได้ที่กองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาคาร 4 ชั้น 4 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 5907272, 5918466, 5907169 โทรสาร 5918468
- หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ผลิต สถานประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าตั้งอยู่
2.7 ค่าใช้จ่าย
2.6.1 ค่าธรรมเนียมในการขอขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ
1) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 1,000 บาท
2) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 500 บาท
3) ค่าธรรมเนียมการผลิตเพื่อขาย ปีละ 1,000 บาท
4) ค่าธรรมเนียมการนำเข้าเพื่อขาย ปีละ 2,000 บาท
2.6.2 ค่าป่วยการในการให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความโฆษณาเครื่องสำอาง
1) ข้อความที่ใช้สื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือวิทยุกระจายเสียง เรื่องละ 5,000 บาท
2) ข้อความที่ใช้สื่ออย่างอื่นนอกจากข้อ 1) เรื่องละ 3,000 บาท
________________________________________

Calender Zee