2552/08/14

สำหรับเครื่องสำอางที่มีสารอันตราย 40 ยี่ห้อห้ามใช้เด็ดขาดได้แก่

1. ไพรสด สมุนไพรธรรมชาติ สิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ

2. Second Cream ตรา Magnate

3. ครีมทาฝ้าชาเขียว ตรา Magnate

4. โลชั่น วินเซิร์ฟ ลดฝ้า กันแดด 5. ครีมวินเซิร์ฟ

6. เอ็ดการ์ด โลชั่นกันแดดผสม อัลลันโทอิน

7. EASY Herb Night Bright Melasma Cream ครีมแต้มฝ้า กระ จุดด่างดำ สำหรับกลางคืน

8. ครีมสมุนไพรว่านนางสาว

9. เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว

10. ครีมสมุน ไพรมะขาม

11. Mena FACIAL CREAM

12. ครีมสมุนไพรมะเขือเทศ

13. ครีมสมุนไพรมะนาว

14. ครีมกันแดด สมุนไพรแตงกวา สูตรพิเศษ

15. SOW ทาฝ้ารอยดำ (ตลับชมพู)

16. BEST BEAUTY ครีมประทินผิว ลดรอยดำ

17. เบสท์โลชั่น โลชั่นปรับสภาพผิว

18. 3 P โลชั่น

19. PIGMENT

20. WHITENING CREAM ครีมไข่มุกหน้าขาว

21.VOLK Intensive Lifting Cream USA

22. IFSA

23. ครีมข้นเหนียวสีส้ม

24. ครีมข้นเหนียวสีน้ำตาล

25. เครื่องสำอางครีมหน้าใส IFSA

26. เครื่องสำอาง ครีมชาเขียว DR.JAPAN

27. The Winner สมุนไพรมะขาม Tamarine Cream สูตรเข้มข้น

28. ครีมสมุนไพร

29. ครีมทาปาก หัวนมชมพูก่อนนอน

30. ยารักษาฝ้า เช้า-ก่อนนอน

31. ครีมทาใต้รักแร้ ง่ามขาดำ ก่อนนอน

32. พรีม เมลาโนไวเทนเนสส์ เอ

33. พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน

34. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ฝ้าปานกลาง สูตรขาวเนียน

35. 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน

36. 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล อี พลัส ครีมทาสิว ฝ้า

37. ครีมลูกยอผสมน้ำผึ้ง white noni & honey cream

38. สมุนไพรแตงกวา

39. สีเขียว 4 (เครื่องสำอาง กึ่งสำเร็จรูปพร้อมบรรจุ เป็นครีมข้นสีเขียว)

40. สีเหลืองขมิ้น 5 (เครื่องสำอางกึ่งสำเร็จรูปพร้อมบรรจุเป็นครีมข้นสีเหลือง).

เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนน


ได้แก่

(1) นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว

(2) D.C. White โลชั่นกันแดดกันฝ้า ปรับสภาพผิวจากแสงแดด

(3) Sandnady NIGHT CREAM ครีมฝ้า/กระ วันที่ผลิต 01/06/07

(4) N (สรรพคุณแก้ฝ้าฝังลึก หน้าหมองคล้ำ)

เครื่องสำอางที่ตรวจพบสารประกอบของปรอท ได้แก่

(5) MV WHITENING CREAM ครีมแก้สิว-หน้าใส ผลิตโดย บริษัทเอ็มวี คอสเมติกส์ จำกัด 47/2 ม.3 ต.เกษตรพัฒนา อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร

(6) KL ครีมนมผึ้งผสมโสม

(7) นิวแคร์ ครีมสมุนไพรขมิ้น ครีมบำรุงผิวสมุนไพรขมิ้น ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย นิวแคร์ บิวตี้

(8) JIAO NUO บาชิ ครีมกลางคืน วันที่ผลิต 2007/08/26

(9) JIAO NUO FAYLACIS ครีมกลางคืน วันที่ผลิต 2007/04/19 โดยลำดับที่ 8 และ 9 ผลิตโดย บริษัทห้วยโจเขื่อนเอิน คอสเมติก จำกัด ประเทศจีน นำเข้าโดยบริษัทไจโอ นูโอ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด 302/20 ซอยลาดพร้าว 71 ถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ

(10) Silver Angel Face Day Cream

(11) Gold Angel White Night Cream ซึ่งลำดับที่ 10 และ 11 ผลิตและจัดจำหน่ายโดยบริษัทคิงส์เฮิร์บ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 688/73-75 หมู่ 7 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม.วันที่ผลิต 21-08-07

(12) ครีมหน้าใส ทาก่อนนอน

(13) ครีมสมุนไพร

(14) ครีมสมุนไพร น้ำนมข้าว NT

(15) ครีมบำรุงผิวมุกหน้าขาว (ตลับขาว-น้ำเงิน)

(16) ครีมมะเขือเทศ แก้สิว หน้าขาว N-T (ตลับสีชมพู)

(17) ครีมสมุนไพรชาเขียว OR ครีมกลางคืน (ตลับสีเขียว)

(18) ครีมแครอท แก้ฝ้า-กระ (ตลับสีส้ม)

(19) ครีมนมแพะผสมสาหร่าย N-T (ตลับสีเขียว) เครื่องสำอางที่ตรวจพบไฮโดรควิโนนและกรดเรทิโนอิก ได้แก่

(20) นิวแคร์ ครีมประทินผิวลดรอยด่างดำ

(21) NEW CARE ครีมประทินผิวลบรอยด่างดำ

(22) เอ็ม.วี. ไวท์เทนนิ่งครีม ครีมบำรุงผิวหน้า กลางคืน ผลิตโดยบริษัทเอ็มวีคอสเมติคส์ จำกัด

(23) นิวแคร์ ไวท์ไนท์ครีม ครีมบำรุงผิวหน้ากลางคืน ผู้ผลิตและผู้แทนจำหน่าย นิวแคร์ บิวตี้


ภญ.วีรวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า เครื่องสำอางที่พบสารอันตราย มักให้รายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน เช่น ไม่ระบุผู้ผลิต ครั้งที่ผลิตและวันเดือนปีที่ผลิต การเลือกซื้อจึงควรระมัดระวัง และสังเกตฉลากเป็นลำดับแรก ฉลากที่ถูกต้องจะต้องเป็นภาษาไทย มีข้อความตามที่กฎหมายกำหนดอย่างครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและประเภทผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ วิธีใช้ ชื่อที่ตั้งแหล่งผลิต วันเดือนปีที่ผลิต และปริมาณสุทธิ การซื้อควรซื้อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ไม่ควรซื้อเพราะคำโฆษณา


สำหรับร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาขาย ขอให้ซื้อจากผู้ที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน หากเจ้าหน้าที่ อย.ไปตรวจและผู้ขายไม่สามารถนำหลักฐานการซื้อขายมาแสดงได้ ผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิตส่วนบทกำหนดโทษ ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับรายชื่อเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้ที่ อย.ได้ประกาศไปทั้งหมด ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่http://www.fda.moph.go.th/ คลิกไปที่ "กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง" และ "เครื่องสำอางอันตราย" ซึ่งจะมีทั้งชื่อเครื่องสำอางพร้อมรายละเอียดและรูปภาพแสดงไว้

สารประกอบของปรอท (mercury compunds) และ สารไฮโดรควิโนน (hydroquinone)

สารหลักๆ ที่มัก อยู่ ในเครื่อง สำอางหน้าขาว
ไฮโดรควิโนน (hydroquinone)
ไฮโดรควิโนนเป็นสารฟีนอลชนิดหนึ่ง เรียกชื่อทางเคมีว่า benzene-1,4-diol เป็นอนินทรียสารที่มีสูตรเคมี C6H4(OH)2 ลักษณะโครงสร้างทางเคมีเป็น hydroxyl groups สองกลุ่มเชื่อมต่อกับ benzene ring ลักษณะการเชื่อมต่อเป็นแบบ para สถานะของไฮโดรควิโนนที่อุณหภูมิห้องและความดันบรรยากาศไฮโดรควิโนนจัดเป็นของแข็งสีขาวเนื้อละเอียด ไฮโดรควิโนนทำปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่นเกิดเป็นสารพาราเบนโซควิโนน parabenzoquinone หรือที่เรียกว่า p-quinone
ไฮโดรควิโนนถูกนำมาใช้เป็นสารช่วยลดปริมาณของเม็ดสีในชั้นผิวหนัง แต่ในบางประเทศก็ไม่อนุมัติให้วางจำหน่าย เช่น ฝรั่งเศส เนื่องจากอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ บางประเทศอนุมัติให้วางจำหน่ายได้เฉพาะรูปแบบ 2% cream ในบางผลิตภัณฑ์ความเข้มข้นของไฮโดรควิโนนอาจมากถึง 4% ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การนำไฮโดรควิโนนมาผสมอย่างไม่ถูกต้อง โดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าปริมาณความเข้มข้นมากน้อยเพียงใด และบางรายอาจใช้วัตถุดิบปลอมในการผลิตอีกด้วย
กรดวิตามินเอ (retinoic acid)
ในร่างกายพบว่ามีโมเลกุลของวิตามินเอ 3 ชนิดด้วยกัน คือ retinol, retinal (retinaldehyde) และ retinoic acid ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากสาร beta-carotene ซึ่งประกอบไปด้วยโมเลกุลของ retinal สองโมเลกุลเชื่อมต่อกันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า provitamin A ปัญหาของการใช้สารกรดวิตามินเอ อยู่ที่ความเข้มข้นของสารและปริมาณที่ได้รับ แม้ว่าการดูดซึมผ่านทางผิวหนังจะไม่มากเหมือนการดูดซึมผ่านระบบทางเดินอาหาร แต่ในบางรายทางการแพทย์ พบว่าผู้ป่วยมีผลขเางเคียงจากฤทธิ์ของยาได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีปัจจัยทางพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น พบความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างโปรตีนชนิด retinol to aporetinol binding protein (RBP) หรือ ความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้าง cellular retinol binding protein (CRBP)
สารประกอบของปรอท (mercury compunds)
การใช้สารประกอบของปรอทที่สำคัญสองชนิด ชนิดแรกคือ 3% mercuric iodine และชนิดที่สอง 10% ammoniated mercury ทั้งสองชนิดเป็นสารปรอทชนิดอนินทรีย์ ซึ่งเมื่อรวมตัวกับ iodide หรือ chloride เกลือที่เกิดขึ้นจะถูกดูดซึมทางผิวหนังอย่างรวดเร็วและในปริมาณที่เป็นพิษได้ ในกรณีที่สารปรอทกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสาร methyl mercury สารนี้มีความเป็นพิษสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิษต่อระบบประสาทและพิษต่อไต ในบางรายเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบอย่างรุนแรง บางรายเกิดปัญหาสิวเห่อ ผิวหนังยุบเป็นร่องรอยบนผิวหนัง ผิว

มารู้ จัก กับ คำนิยาม เครื่องสำอาง




ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
2.1 คำนิยาม
เครื่องสำอาง คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์เพื่อความสะอาดและความสวยงามเท่านั้น เช่น ครีมบำรุงผิว โลชั่นกันแดด น้ำหอม ลิปสติก แป้งฝุ่น รองพื้น แป้งทาหน้า ดินสอเขียนคิ้ว ผลิตภัณฑ์ทาแก้ม แต่งตา ทาเล็บ ล้างเล็บ ตกแต่งทรงผม ระงับกลิ่นกาย สบู่ แชมพู ครีมนวดผม ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ผ้าเย็น ผ้าอนามัย เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวอ้างสรรพคุณเกินกว่าเพื่อความสะอาดหรือความสวยงาม เช่น อ้างว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาโรค ป้องกันโรค หรือมีผลต่อโครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยา ผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องจัดเป็นยา ไม่ใช่เครื่องสำอาง เช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน ครีมบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนัง แม้ว่าจะมีการเกี่ยวโยงสรรพคุณเหล่านี้ว่านำไปสู่ความงามก็ตาม
2.2 การแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฯ ได้จัดแบ่งเครื่องสำอางออกเป็น 3 ประเภท ตามลำดับความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย หากผู้บริโภคใช้ไม่ถูกวิธี ได้แก่ เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม และเครื่องสำอางทั่วไป
1) เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงสูงหากผู้บริโภคใช้เครื่องสำอางนั้นไม่ถูกวิธี จึงต้องมีการขึ้นทะเบียนตำรับเพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พิจารณาความถูกต้อง เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่าย เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ดัดผม ย้อมผม ฟอกสีผม แต่งผมดำ ผลิตภัณฑ์ทำให้ขนร่วง ยาสีฟัน หรือน้ำยาป้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" และมีเลขทะเบียนในกรอบ อย.
2) เครื่องสำอางควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่มีความเสี่ยงรองลงมา การกับดูแลจึงลดระดับลงมาจากการขึ้นทะเบียน เป็นเพียงการจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น เครื่องสำอางในกลุ่มนี้ได้แก่ ผ้าอนามัย ผ้าเย็น กระดาษเย็น แป้งฝุ่นโรยตัว แป้งน้ำ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารป้องกันแสงแดด เครื่องสำอางที่ผสมสารขจัดรังแค เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ที่ฉลากจะต้องแสดงข้อความว่า "เครื่องสำอางควบคุม"
3) เครื่องสำอางทั่วไป ได้แก่ เครื่องสำอางที่ไม่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษ หรือสารควบคุม เป็นเครื่องสำอางที่ผู้บริโภคมีโอกาสเกิดอันตรายจากการบริโภคได้น้อย ได้แก่ สบู่ แชมพู ครีมนวดผม แป้งทาหน้า ลิปสติก เจลแต่งผม น้ำหอม ครีมบำรุงผิว ดินสอเขียนคิ้ว บลัชออนแต่งแก้ม อายแชโดว์ เป็นต้น เครื่องสำอางประเภทนี้ต้องแสดงฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
การแสดงข้อความอันจำเป็นที่ฉลากภาษาไทย
เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ เครื่องสำอางควบคุม เครื่องสำอางทั่วไป
1. ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อเครื่องสำอาง ชื่อเครื่องสำอาง
2. ประเภทหรือชนิด ประเภทหรือชนิด ประเภทหรือชนิด
3. ข้อความ "เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ" ข้อความ "เครื่องสำอางควบคุม" -
4. เลขทะเบียนในกรอบ อย. - -
5. ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมพิเศษและสารสำคัญ ชื่อและปริมาณ
ของสารควบคุมและสารสำคัญ ชื่อส่วนประกอบสำคัญ
6. - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ต้องของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย - ถ้าผลิตในประเทศให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต
- ถ้านำเข้าจากต่างประเทศให้แสดงชื่อและ
ที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตด้วย
7. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต -
8. วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต
9. วิธีใช้ วิธีใช้ วิธีใช้
10. ปริมาณสุทธิ ปริมาณสุทธิ ปริมาณสุทธิ
11. คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด คำเตือนตามที่กฎหมายกำหนด
12. ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1, 4 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง ถ้าพื้นที่ในการแสดงฉลากน้อยกว่า 20 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงเฉพาะข้อ 1 และ 10 ส่วนรายละเอียดอื่นให้แสดงในใบแทรกหรือเอกสารกำกับเครื่องสำอาง
2.3 การโฆษณาเครื่องสำอาง
การโฆษณาเครื่องสำอาง ไม่ต้องขออนุญาตก่อนทำการโฆษณา แต่การโฆษณาต้องอยู่ในขอบเขตของความถูกต้อง ถูกหลักวิชาการและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจขอให้พิจารณาให้ความเห็นก่อนทำการโฆษณาได้
2.4 การผลิต/นำเข้าเครื่องสำอาง
- เครื่องสำอางควบคุมพิเศษ ต้องขึ้นทะเบียนก่อนผลิตหรือนำเข้า
- เครื่องสำอางควบคุม ต้องแจ้งรายละเอียดก่อนผลิตหรือนำเข้า
- เครื่องสำอางทั่วไป - ผลิตในประเทศไม่ต้องขึ้นทะเบียนหรือ รายละเอียด เพียงแต่แสดงข้อความที่ฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วน
- นำเข้า ต้องยื่นเอกสารขอนำเข้าและต้องจัดทำฉลากภาษาไทยให้ครบถ้วนและถูกต้อง ภายใน 30 วัน นับแต่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้นำเข้า
2.5 สถานที่ขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
การขายเครื่องสำอาง สามารถกระทำได้โดยอิสระ ไม่ต้องขออนุญาตขายเครื่องสำอาง แต่เครื่องสำอางที่ขายต้องมีฉลากภาษาไทยและฉลากต้องแสดงข้อควาครบถ้วนและถูกต้องตามที่ได้กำหนดไว้
2.6 สถานที่ขอขึ้นทะเบียนหรือแจ้งรายละเอียด
ผู้ประกอบการที่มีสถานที่ประกอบการตั้งอยู่
- ให้ยื่นขอได้ที่กองควบคุมเครื่องสำอาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาคาร 4 ชั้น 4 ตึกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี 11000 โทร. 5907272, 5918466, 5907169 โทรสาร 5918468
- หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานที่ผลิต สถานประกอบการของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าตั้งอยู่
2.7 ค่าใช้จ่าย
2.6.1 ค่าธรรมเนียมในการขอขึ้นทะเบียนเครื่องสำอางควบคุมพิเศษ
1) ใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 1,000 บาท
2) ใบแทนใบสำคัญการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 500 บาท
3) ค่าธรรมเนียมการผลิตเพื่อขาย ปีละ 1,000 บาท
4) ค่าธรรมเนียมการนำเข้าเพื่อขาย ปีละ 2,000 บาท
2.6.2 ค่าป่วยการในการให้ความเห็นเกี่ยวกับข้อความโฆษณาเครื่องสำอาง
1) ข้อความที่ใช้สื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือวิทยุกระจายเสียง เรื่องละ 5,000 บาท
2) ข้อความที่ใช้สื่ออย่างอื่นนอกจากข้อ 1) เรื่องละ 3,000 บาท
________________________________________

Calender Zee